ฟีเจอร์ 21 มกราคม 2562

วัฒนธรรมแห่งการแบ่งปัน สู่การสร้างสรรค์โลกที่แตกต่าง

อาสาสมัครจาก Apple ช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้คนได้อย่างไร

เด็กผู้หญิงกำลังใช้ iPad ในห้องเรียน
Ericka Lingwood นักเรียนจากโรงเรียน Terence MacSwiney ได้พัฒนาทักษะด้านแอนิเมชั่นจากการเข้าร่วมโครงการอาสาสมัครของ Apple
Michael Normoyle อายุ 14 ปี ลุกขึ้นจากเก้าอี้มาเขียนรหัสลับ ZLANZRVFZVPUNRY บนบอร์ด
ทุกคนที่เหลือในชั้นเรียนต่างแข่งกันขีดเขียนบนโต๊ะอย่างขะมักเขม้น เพื่อหวังว่าจะเป็นคนแรกที่ไขปริศนาได้
ในชั้นเรียนการเขียนโค้ดที่โรงเรียน Terence MacSwiney ในเมืองคอร์ก ประเทศไอร์แลนด์ การแข่งขันทำกิจกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างดุเดือดเสมอสำหรับกลุ่มนักเรียนอายุ 14 และ 15 ปี กลุ่มนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับ Normoyle และเพื่อนร่วมชั้นอย่าง Seán Harris และ Michael McGlue เพราะทั้งสามคนกำลังแข่งขันกันเพื่อเข้ารับการเสนอชื่อเป็นผู้ที่โดดเด่นที่สุดในชั้นเรียนการเขียนโค้ด
นักเรียนกำลังเขียนข้อความบนไวท์บอร์ดที่โรงเรียน Terence MacSwiney
Michael Normoyle นักเรียนของโรงเรียน Terence MacSwiney เขียนรหัสลงบนบอร์ดในชั้นเรียนการเขียนโค้ด ขณะที่ Pavel Zizka อาสาสมัครจาก Apple กำลังยืนดูอยู่
โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการนำร่องพิเศษซึ่งเกิดจากความร่วมมือของอาสาสมัคร Apple จากบริษัทที่อยู่ใกล้ๆ กับโรงเรียนในเมืองคอร์ก ทุกๆ สัปดาห์ อาสาสมัครมากกว่าสิบคนจะเข้าไปที่โรงเรียนเพื่อช่วยสอนเกี่ยวกับการเขียนโค้ด วาดรูป ถ่ายรูป ดนตรี และวิดีโอ นับตั้งแต่โครงการนี้ได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อ 3 ปีก่อน โรงเรียนซึ่งเคยขึ้นชื่อว่าประสบปัญหาทางการเงินมากที่สุดในไอร์แลนด์ก็ได้รับการพัฒนา และชีวิตของนักเรียนก็เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
นี่คือหนึ่งจากหลายพันองค์กรที่พนักงานของ Apple สละเวลาของตนเข้าไปสร้างประโยชน์ และทุกๆ ชั่วโมงที่พนักงานสละให้ หรือทุกๆ ดอลลาร์ที่มีการบริจาค Apple จะสมทบเงินเท่ากับยอดเหล่านั้น โดยในปี 2018 เวลารวมของอาสาสมัครที่เข้ามาทำงานมากกว่า 250,000 ชั่วโมง และเงินที่ได้บริจาคให้กับองค์กรทั่วโลกมียอดมากกว่า 125 ล้านเหรียญสหรัฐ
หญิงสาวคนหนึ่งกำลังใช้ iPad ถ่ายรูป พร้อมกับมีอาสาสมัครจาก Apple คอยช่วยเหลืออยู่ใกล้ๆ
อาสาสมัครของ Apple ให้ความรู้แก่นักเรียนในสาขาวิชาต่างๆ มากมาย รวมถึงการถ่ายรูป
Phil O’Flynn ครูใหญ่ของโรงเรียน Terence MacSwiney
Phil O’Flynn ครูใหญ่ของโรงเรียน Terence MacSwiney เห็นความเปลี่ยนแปลงในตัวเด็กๆ เป็นอย่างมากนับตั้งแต่มีอาสาสมัครจาก Apple เข้ามา
ซึ่งรวมถึงประเทศจีนด้วย โดย Apple เป็นบริษัทระดับโลกเพียงบริษัทเดียวที่สมทบเงินเท่ากับยอดบริจาคของพนักงาน องค์กรการกุศล 32 แห่งในจีนสามารถรับเงินสมทบทุนได้แล้ว รวมถึง China Foundation for Poverty Alleviation ซึ่งในปี 2018 เพียงปีเดียว ได้ช่วยเหลือประชากรไปแล้วกว่า 175,000 รายใน 24 จังหวัดในการเตรียมพร้อมรับมือและบรรเทาภัยพิบัติ

"คุณต้องจุดประกายความหวังขึ้นมา ไม่ว่าจะทำงานในด้านไหน บางครั้งการจะทำเช่นนั้นได้ คุณอาจต้องการความช่วยเหลือเล็กน้อย"

หลายคนกล่าวว่าโครงการ Giving ของ Apple กลายเป็นสิ่งที่กระตุ้นพลังแห่งการทำความดีทั่วโลก นับตั้งแต่โครงการเริ่มต้นขึ้นเมื่อ 8 ปีที่แล้ว จนมาถึงวันนี้ มียอดเงินซึ่งบริจาคให้แก่องค์กรไม่หวังผลกำไรทั่วโลกไปแล้วมากกว่า 365 ล้านเหรียฐสหรัฐ แต่หากคุณไปถามผู้คนที่ได้รับชีวิตใหม่จากความพยายามเหล่านี้ พวกเขาจะบอกคุณว่า มีอีกหลายสิ่งหลายอย่างที่วัดค่าไม่ได้จากยอดเงินและตัวเลขเพียงอย่างเดียว
"เรามีนักเรียนจำนวนมากที่ขาดโอกาส" Phil O’Flynn ครูใหญ่ของ Terence MacSwiney กล่าว "แต่โครงการนี้ช่วยปลุกปั้นนักเรียนของเรา จนเราได้ค้นพบพรสวรรค์ที่เราไม่เคยคิดมาก่อนว่ามีอยู่ในตัวพวกเขา"
ครูช่วยเหลือนักเรียนที่กำลังใช้ iPad เพื่อไขรหัสการเขียนโค้ด
ครู Linda Cagney ของโรงเรียน Terence MacSwiney ช่วยเหลือ Michael McGlue และ Seán Harris ระหว่างที่ทั้งคู่กำลังไขรหัสลับในชั้นเรียนการเขียนโค้ด
ก่อนจะเข้าสู่โครงการนี้ Normoyle, Harris และ McGlue ไม่เคยนึกฝันมาก่อนว่าจะได้ทำอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเขียนโค้ด ครู Linda Cagney และครูใหญ่ O’Flynn กล่าวว่าทั้งสามคนจะเป็นสมาชิกคนแรกของครอบครัวที่ได้เรียนจนจบชั้นปริญญาตรี ความฝันนั้นอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว
"คุณต้องจุดประกายความหวังขึ้นมา ไม่ว่าจะทำงานในด้านไหน" ครู O’Flynn กล่าว "บางครั้งการจะทำเช่นนั้นได้ คุณอาจต้องการความช่วยเหลือเล็กน้อย และนั่นคือสิ่งที่โครงการทำ การทำให้โรงเรียนมีความหวัง"
กลับไปที่ชั้นเรียนเขียนโค้ด นักเรียนยังคงพยายามถอดรหัสของ Normoyle และในที่สุด ก็มีคนตะโกนขึ้นมาว่า "ผมชื่อไมเคิล"
เขายิ้มและยืนยันว่านั่นเป็นคำตอบที่ถูกต้อง
***
Lauren Cook อายุ 24 ปี เป็นนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ San Jose State University ในปี 2017 ขณะนั้น เธอต้องทำงานถึง 4 งานเพื่อหาเงินเลี้ยงชีพ จนเธอได้เห็นใบปลิวโฆษณาซุ้มแจกอาหารที่มหาวิทยาลัยโดย Second Harvest ที่นั่นทำให้เธอได้รับอาหารฟรีเต็มหลายถุง
"Second Harvest ทำให้ดิฉันมาถึงจุดๆ นี้ได้ ขอโทษนะคะ พอพูดถึงเรื่องนี้แล้วตื้นตันจนน้ำตาไหลทุกทีเลย" Cook กล่าวทั้งน้ำตา "หลังจากนั้นดิฉันเหลืองานที่ต้องทำแค่งานเดียว ก็เลยมีเวลาให้กับการเรียนมหาวิทยาลัยมากขึ้นค่ะ"
ภาพของ Lauren Cook
Lauren Cook ยกความดีความชอบให้ Second Harvest ที่ทำให้เธอมีเวลาให้กับการเรียนมหาวิทยาลัยและมุ่งมั่นกับอนาคตของตัวเองมากขึ้น
ชายหนุ่มคนหนึ่งกำลังจัดเรียงส้ม
อาสาสมัครของ Apple จัดเรียงส้มที่ธนาคารอาหาร Second Harvest ในเมืองซานโฮเซ รัฐแคลิฟอร์เนีย
นับตั้งแต่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่เมื่อปี 2008 จำนวนผู้ที่ได้รับแจกอาหารในแต่ละเดือนจากธนาคารอาหาร Second Harvest ในเขต Santa Clara และ San Mateo ซึ่งรวมถึงพื้นที่ Silicon Valley โดยส่วนใหญ่ เพิ่มขึ้นถึง 47% จากเฉลี่ย 175,000 คน เป็น 260,000 คน นับเป็นจำนวนมื้ออาหารถึง 55 ล้านมื้อเฉพาะในปี 2018 เพียงปีเดียว
Apple ร่วมทำงานอาสาสมัครกับ Second Harvest มาตั้งแต่ปี 2000 ในปีที่ผ่านมา พนักงานของ Apple ใช้เวลาเกือบ 3 พันชั่วโมงในการจัดเรียงและแจกจ่ายอาหาร ซึ่งทำให้ธนาคารอาหารแห่งนี้เป็นสถานที่ที่รับอาสาสมัครจาก Apple คิดเป็นจำนวนชั่วโมงสูงที่สุดในสหรัฐอเมริกา
"สิ่งสำคัญที่สุดเกี่ยวกับการร่วมเป็นพันธมิตรในครั้งนี้ก็คือ มีอาสาสมัครจาก Apple ที่เราพึ่งพาได้" Leslie Bacho ซึ่งเป็น CEO ของ Second Harvest กล่าว "ความร่วมมือในระยะยาวนั้นช่วยให้เราสามารถทดลองและคิดอะไรใหม่ๆ ได้ รวมถึงการตั้งจุดแจกอาหารตามมหาวิทยาลัย ซึ่งทำให้ผมมีความหวังว่าถ้าจะมีที่ไหนในประเทศนี้ที่เราจะแก้ปัญหาความอดอยากได้ ก็คงเป็นที่นี่"
***
เมื่อ Samuel Snowe อายุ 29 ปี แกะห่อที่มีเสื้อกล้ามรัดอก เขาต้องประหลาดใจที่พบอีกสิ่งหนึ่งอยู่ในนั้นด้วย
"เป็นคนที่คุณอยากเป็น" คือข้อความในโน้ตนั้น "การรักตัวเองคือก้าวแรก ขอบคุณที่กล้าเป็นตัวของตัวเอง"
และลงชื่อไว้เพียงว่า ‘Megan’ Snowe รู้สึกตื้นตันใจ เพราะคำพูดสั้นๆ นั้นเป็นสิ่งที่ย้ำเตือนว่าเขาไม่ได้อยู่เพียงลำพัง
Aydian Dowling เปิดตัวว่าเป็นคนข้ามเพศในปี 2009 แต่ประกันสุขภาพกลับไม่คุ้มครองการแปลงเพศ เขาสามารถระดมเงินบริจาคได้ครบในท้ายที่สุดด้วยตัวเองโดยมีเพื่อนๆ คอยสนับสนุน แต่ประสบการณ์ไม่ดีที่เขาได้รับนั้นทำให้เขาอยากช่วยเหลือคนอื่น และเมื่อสองปีที่แล้ว เขาได้ก่อตั้ง Point of Pride โดยมีพันธกิจว่า "เพื่อเป็นประโยชน์ต่อบุคคลข้ามเพศที่ต้องการความช่วยเหลือ ผ่านทางโครงการสนับสนุนการยืนหยัดในเพศของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้พวกเขาสามารถใช้ชีวิตเป็นตัวของตัวเองได้มากยิ่งขึ้น"
หนึ่งในนั้นคือโครงการเสื้อผ้า ซึ่งแจกเสื้อกล้ามรัดอกไปแล้วฟรีๆ กว่า 3,500 ตัวให้ทุกคนทั่วโลก รวมถึง Snowe พร้อมข้อความให้กำลังใจ
ไอเดียในการแนบโน้ตนั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อองค์กรติดต่อพูดคุยกับ Liz Byrne พนักงาน Apple ซึ่งปัจจุบันเป็นคณะกรรมการ Point of Pride Liz ได้รับจดหมายให้กำลังใจจากเพื่อนสนิทขณะที่ต้องเผชิญกับความยากลำบากในโรงเรียนมัธยม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา Liz ได้จัดกิจกรรม เขียนจดหมายขึ้นเกือบ 20 ครั้งที่สำนักงานของ Apple ในเมือง Cupertino, Austin และ Sacramento ซึ่งมีพนักงานเข้าร่วมหลายร้อยคน
สำหรับ Snowe แล้ว การได้รับเสื้อกล้ามรัดอกเป็นสิ่งสำคัญมากก็จริง แต่โน้ตให้กำลังใจนั้นมีค่ายิ่งกว่า
"เมื่อคุณเป็นคนข้ามเพศ มีหลายครั้งที่คุณรู้สึกว่าคุณไม่สมควรจะมีชีวิตอยู่ เหมือนคุณมีความเป็นมนุษย์น้อยลงยังไงยังงั้น" Snowe กล่าว "และอะไรแบบนี้คือสิ่งที่ย้ำเตือนกับเราว่า เรายังคงเป็นมนุษย์ เรายังมีชีวิตอยู่ เรายังเป็นคนๆ หนึ่ง และมีความสำคัญกับใครบางคน"
โน้ตส่วนตัวที่เขียนถึง Liz Byrne
โน้ตที่ Liz Byrne ได้รับจากเพื่อนในโรงเรียนมัธยม ซึ่งกลายเป็นแรงบันดาลใจสำหรับโครงการเขียนจดหมายของ Point of Pride

สื่อมวลชนสัมพันธ์

ช่องทางให้ความช่วยเหลือของ Apple สำหรับสื่อมวลชน

media.thailand@apple.com